วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

ทักษะการเล่นบาส¶

ทำอย่างไรให้ลอยตัวในอากาศได้นานและกระโดดได้สูง

มีขอแนะนำในสิ่งที่เหมาะกับสภาพนักกีฬาในบ้านเรานะครับวิธีง่ายๆก็คือ การวิ่งเพื่อความอดทนโดยวิ่งรอบสนามอย่างน้อย 4 รอบ(1,600 เมตร) อย่างน้อย ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงค่อยเพิ่มความเร็วโดยการวิ่งระยะสั้น สลับกับการวิ่งระยะยาว ต่อมาในเดือนที่ 2 เดือนที่ 3 ควรเน้นหนักในการฝึกการกระโดด ดังนี้

1.กระโดดข้ามกล่องกระดาษซึ่งมีความสูงประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1 ฟุต กระโดดเท้าคู่ไปทางด้านข้าง ซ้ายที ขวาที
2.กระโดดยกเข่าแตะอก
3.กระโดดยกส้นเท้าแตะก้น
4.กระโดดข้ามกล่องกระดาษ 4 กล่องซึ่งวางเรียงกัน โดยแต่ละกล่องห่างกัน 2 ฟุต กระโดดเท้าคู่ข้ามทีละกล่องอย่างต่อเนื่อง
5.กระโดดเอามือแตะขอบแป้นบาส
6.กระโดดอยู่กับที่อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง พยายามเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เน้นการถีบตัวกระโดดให้สูงขึ้นแต่มีข้อแนะนำวิธีการกระโดด เพราะเห็นนักกีฬาจำนวนมากที่บาดเจ็บหัวเข่า เนื่องจากกระโดด ไม่ถูกวิธี โดยการกระโดดที่ถูกวิธีนั้นจะต้องย่อตัวทั้งก่อนกระโดด และหลังการกระโดดขึ้นไปแล้ว เมื่อปลายเท้าแตะพื้นจะต้องย่อตัวพร้อมทั้งเหยียบพื้นเต็มเท้า ก่อนการกระโดดจะต้องย่อตัวลง (ย่อตัวนะครับไม่ใช้ก้มตัว) เขย่งส้นเท้าขึ้น จิกปลายเท้าให้แน่นแล้วถีบ ตัวขึ้นไป เมื่อลงสู่พื้นก็ใช้ปลายเท้าลงจึงตามด้วยส้นเท้าแล้วย่อตัว อย่าใช้ส้นเท้าลงก่อนปลายเท้าเพราะจะทำให้น้ำหนักทั้งตัว ลงที่ส้นเท้าจะเจ็บส้นเท้าและอาจเป็นรอยช้ำ เมื่อเหยียบพื้นเต็มเท้า ให้ทิ้งตัวย่อลงอย่ายืนตัวแข็ง เพราะจะทำให้หัวเข่ารับน้ำหนัก และบาดเจ็บที่หัวเข่าได เมื่อฝึกทุกอย่างแล้วให้สลับฝึกทุกวันเช่น วิ่งระยะยาว วิ่งเร็ว กระโดด ความคล่องตัว ทำเป็นประจำคุณก็จะสามารถกระโดดได้สูงและลอยตัวในอากาศ ได้นานกว่าเดิมแน่นอน
ขอขอบคุณจากhttp://www.dek-d.com/board/view.php?id=955210

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

การเล่นวอลเล่ย์บอล‼

เรื่องทักษะการเล่นวอลเล่ย์บอล
ตำแหน่งในการยืนรับที่เป็นที่นิยมและประสบผลมากที่สุด ในขณะที่คู่ต่อสู้ทำการรุกด้วยการตบจากตำแหน่งหัวเสา ( Outsite ) ตำแหน่งการรับเป็นที่ยอมรับนั้นลักษณะการยืนควรมีลักษณะดังนี้ ตำแหน่งหน้าซ้าย (P4) ถอยออกจากตาข่ายห่างจากเส้นรุกไปทางท้ายสนาม 1 ก้าว เพื่อรับบอลที่ฝ่ายรุก ๆ มาในบริเวณนั้น (ดูภาพประกอบ) ตำแหน่งหลังซ้าย (P5) ให้เคลื่อนที่ตัดเข้าด้านในของสนามค่อนไปทางด้านหลัง 1 ก้าวเพื่อรอรับบอลที่จะมาบริเวณมุมสนาม ซึ่งส่วนใหญ่บอลจะลงในบริเวณนั้น
สำหรับผู้เล่นที่ประสบการณ์น้อย เมื่ออยู่ในตำแหน่งหน้าซ้าย อาจจะถอยหลังเพื่อมารับบอลรุกไม่ทัน แต่จำเป็นที่จะต้องถอยมารับ โดยก้าวเท้าให้ยาวถอยเท่าที่สามารถจะทำได้และอยู่ในท่าทางเตรีมพร้อมรับเสมอ จำไว้ว่าไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งหน้าซ้ายหรือหลังซ้าย บอลที่ลอยมาเหนือระดับเอวส่วนใหญ่มักจะออกหากเรายืนได้ถูกตำแหน่ง การยืนถูกตำแหน่งจะทำให้เราอ่านได้ง่ายว่าบอลลูกนั้นควรจะรับหรือปล่อยออก และที่สำคัญคือต้องไม่กลัวที่จะต้องรับบอล บอลที่คู่ต่อสู้รุกมาจากตำแหน่งหัวเสานั้น ส่วนใหญ่จะตกบริเวณ 1 ฟุตห่างจากเส้นข้างสนาม ดังนั้นเราควรรักษาตำแหน่งการรับให้ดี อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจำคือ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพื่อรับบอลจะง่ายกว่าการเคลื่อนที่ถอยหลังรับบอล
ผู้เล่นตำแหน่งกลางหลังจะมีพื้นที่รับผิดชอบในการรับ มากที่สุดในสนามโดยต้องพยายามรับบอลที่แฉลบผ่านบล๊อคมา (Touch Block) เราอาจะต้องยืนห่างจากท้ายสนามเพียงแค่ 1 ก้าว ก็อาจจะเพียงพอแล้วที่จะถอยไปเล่นบอลที่แฉลบบล๊อคมา หรือก้าวเข้าไปเล่นบอลที่เคาะ หรือหยอดลงบริเวณกลางสนาม แต่ถ้าหากการเคลื่อนที่ของเราไม่เร็วพอ เราอาจจะถอยอีก 1 ก้าวโดยยืนอยู่บนเส้นท้ายสนามก็ได้ จะช่วยให้เราสามารถเล่นบอลที่แฉลบบล๊อคไปไกลได้มากยิ่งขึ้น

การเล่นกีฬาว่ายน้ำ♥

การว่ายน้ำที่ดีจะต้องพื้นฐานมาก่อน และก่อนที่จะลงว่ายน้ำครวนที่จะวอมก่อน
เพื้อให้กรามเนื้อได้ครายและก็จะไม่เป็นตะคิว
การว่ายน้ำมีหลายท่า
1) ท่าฟรีสไตร์
2) ท่ากันเชียง
3) ท่ากบ
4) ท่าผีเสื้อ
ท่าแต่ละท่ามีการว่ายไม่เหมือนกันท่าบ่างท่าว่ายงายแต่ส่วนมากเขาจะว่ายน้ำกันท่าฟรีสไตร์
การแข่งขันว่ายน้ำเขาจะแบ่งเป็นลู่และกำหนดว่าให้ว่ายกี่ลอบและก็จับเวลาเพื้อเป็นสถิติครั้งต่อไป

ประโยชน์ของการเล่นกีฬา‼

สำหรับผู้ใหญ่
เป็นการป้องกันตัว
ทำให้สุขภาพดีไม่เหนื่อยง่าย
ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
ทำงานได้ดี ขึ้น เช่น ระบบอาหาร, หัวใจ
และการหายใจข้อต่อต่าง ๆรวมถึงกล้ามเนื้อ
พัฒนาด้านจิตใจ


สำหรับเด็ก
พัฒนาการทรงตัว
พัฒนากล้ามเนื้อและระบบหายใจ
มีระเบียบวินัยและเสริมสร้างสมาธิให้ดีขึ้น
เสริมสร้างบุคคลิกภาพ

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

กีฬาเพื่อสุขภาพ

การเลือกกีฬาเพื่อสุขภาพ

กีฬา ทุกชนิดให้ผลต่อสุขภาพแตกต่างกัน และแม้จะเป็นกีฬาชนิดเดียวกัน วิธีเล่น ความชำนาญของผู้เล่น
ความหนัก - นาน - บ่อยของการเล่น ก็ยังทำให้ผลต่อสุขภาพผิดแผกไปได้มาก ยิ่งเป็นกีฬาที่แข่งขันกันด้วยแล้ว ระดับและความสำคัญของการแข่งขัน คู่แข่งขัน ตลอดจนภาวะแวดล้อมของการแข่งขัน จะเข้ามาเป็นตัวแปรเพิ่ม จนบางครั้งทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพแทนที่จะเป็นผลดี
คำว่า " กีฬาเพื่อสุขภาพ " หมายถึงการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายที่มีจุดประสงค์แน่นอนในการพัฒนาสุขภาพทั้งร่างกาย
และจิตใจ ซึ่งอาจหมายถึงการดำรงรักษาสุขภาพที่ดีอยู่แล้วมิให้ลดถอยลง ปรับปรุงสุขภาพที่ทรุดโทรมให้ดีขึ้น ป้องปันโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการขาดออกกำลังกาย ตลอดจนช่วยแก้ไขหรือฟื้นฟสภาพร่างกายจากโรคบางอย่าง กีฬาเพื่อสุขภาพจึงมีลักษณะที่แตกต่างจากกีฬาแข่งขันอยู่มาก เพราะมิได้เกี่ยวข้องกับชัยชนะ หรือชื่อเสียงเช่นกีฬาแข่งขัน
ลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ
อาจกล่าวได้ว่ากีฬาทุกชนิดที่ใช้แข่งขัน เกมส์ หรือการละเล่นที่ใช้แรงกาย การบริหารร่างกายและการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ และแม้แต่การปฏิบัติงานหนัก หรืองานอดิเรกที่ใช้แรงกายสามารถนำมาใช้หรือดัดแปลงให้เป็นกีฬาเพื่อสุขภาพได้ทั้งนั้น แต่ทั้งนี้จะต้องจัดให้เข้ากับลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้
ลักษณะบังคับ :
- เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
ู - สามารถควบคุมความหนักเบาได้ด้วยตัวเอง
- มีการฝึกความอดทนของระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนเลืด ( แอโบิคส์ ) อยู่ด้วย
- สามารถปฏิบัติเป็นประจำสมำ่เสมอได้
ลักษณะประกอบ :

- มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุน้อย หรือไม่มี
- ปฏิบัติง่าย ไม่มีกฎกติกาหรือเทคนิคที่ยุ่งยาก
- มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เคร่งเครียด
- ไม่สิ้นเปลืองมาก
การเลือกกีฬาเพื่อสุขภาพ
เป็นการเลือกชนิดของกิจกรรมการใช้แรงกายให้ได้ประโยชน์แก่สุขภาพอย่างมากที่สุด โดยไม่จำกัดว่าจะมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวหรือ หลายอย่างประกอบกัน ในทางปฏิบัติมักเป็นการยากที่จะเลือกกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้ได้ " ลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ " ครบทุกข้อ แต่ก็ไม่มีข้อห้ามใดที่ผู้ปฏิบัติจะเลือกกิจกรรมหลายอย่าง มาประกอบกัน เพื่อเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพของตน
การเลือกกีฬาเพื่อสุขภาพ

กีฬา ทุกชนิดให้ผลต่อสุขภาพแตกต่างกัน และแม้จะเป็นกีฬาชนิดเดียวกัน วิธีเล่น ความชำนาญของผู้เล่น
ความหนัก - นาน - บ่อยของการเล่น ก็ยังทำให้ผลต่อสุขภาพผิดแผกไปได้มาก ยิ่งเป็นกีฬาที่แข่งขันกันด้วยแล้ว ระดับและความสำคัญของการแข่งขัน คู่แข่งขัน ตลอดจนภาวะแวดล้อมของการแข่งขัน จะเข้ามาเป็นตัวแปรเพิ่ม จนบางครั้งทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพแทนที่จะเป็นผลดี
คำว่า " กีฬาเพื่อสุขภาพ " หมายถึงการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายที่มีจุดประสงค์แน่นอนในการพัฒนาสุขภาพทั้งร่างกาย
และจิตใจ ซึ่งอาจหมายถึงการดำรงรักษาสุขภาพที่ดีอยู่แล้วมิให้ลดถอยลง ปรับปรุงสุขภาพที่ทรุดโทรมให้ดีขึ้น ป้องปันโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการขาดออกกำลังกาย ตลอดจนช่วยแก้ไขหรือฟื้นฟสภาพร่างกายจากโรคบางอย่าง กีฬาเพื่อสุขภาพจึงมีลักษณะที่แตกต่างจากกีฬาแข่งขันอยู่มาก เพราะมิได้เกี่ยวข้องกับชัยชนะ หรือชื่อเสียงเช่นกีฬาแข่งขัน
ลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ
อาจกล่าวได้ว่ากีฬาทุกชนิดที่ใช้แข่งขัน เกมส์ หรือการละเล่นที่ใช้แรงกาย การบริหารร่างกายและการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ และแม้แต่การปฏิบัติงานหนัก หรืองานอดิเรกที่ใช้แรงกายสามารถนำมาใช้หรือดัดแปลงให้เป็นกีฬาเพื่อสุขภาพได้ทั้งนั้น แต่ทั้งนี้จะต้องจัดให้เข้ากับลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้
ลักษณะบังคับ :
- เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
ู - สามารถควบคุมความหนักเบาได้ด้วยตัวเอง
- มีการฝึกความอดทนของระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนเลืด ( แอโบิคส์ ) อยู่ด้วย
- สามารถปฏิบัติเป็นประจำสมำ่เสมอได้
ลักษณะประกอบ :

- มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุน้อย หรือไม่มี
- ปฏิบัติง่าย ไม่มีกฎกติกาหรือเทคนิคที่ยุ่งยาก
- มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เคร่งเครียด
- ไม่สิ้นเปลืองมาก
การเลือกกีฬาเพื่อสุขภาพ
เป็นการเลือกชนิดของกิจกรรมการใช้แรงกายให้ได้ประโยชน์แก่สุขภาพอย่างมากที่สุด โดยไม่จำกัดว่าจะมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวหรือ หลายอย่างประกอบกัน ในทางปฏิบัติมักเป็นการยากที่จะเลือกกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้ได้ " ลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ " ครบทุกข้อ แต่ก็ไม่มีข้อห้ามใดที่ผู้ปฏิบัติจะเลือกกิจกรรมหลายอย่าง มาประกอบกัน เพื่อเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพของตน